menu Left

A.B.N. interbusiness

FSC Thailand

Donate PayPal

โครงการประเทศสีเขียว

ต้นเงินเศรษฐี

IDDL

IDDL

โครงการออมทรัพย์สีเขียว

GSP โครงการออมทรัพย์ฯ

โครงการการศึกษาสีเขียวฯ

โครงการการศึกษาสีเขียว สู่มาตรฐานสากลอาเซี่ยน 2016(Green Education Project for ASEAN Community 2016)

โครงการชุมชนสีเขียวฯ

ดวงใจของแผ่นดิน

ดวงใจของแผ่นดิน

ร่วมปลูกป่า 984ล้านต้น

โครงการ IDLS


โครงการวุฒิบัตรรับรองทักษะความรู้ดิจิทัลระดับมาตรฐานสากล

International Digital Literacy Standard Project

เพื่อเตรียมกำลังคนสำหรับเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล


ประชารัฐพัฒนา สู่ ไทยแลนด์ 4.0
Civil State Development to Thailand 4.0


ดำเนินงานโดย



โครงการวุฒิบัตรรับรองทักษะความรู้ดิจิทัลระดับมาตรฐานสากล

International Digital Literacy Standard Project

เพื่อเตรียมกำลังคนสำหรับเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

 

1. แนวคิด

         ความ สามารถด้านคอมพิวเตอร์ หรือ Digital Literacy กลายเป็นประเด็นใหญ่ที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ เนื่องจากโลกได้เปลี่ยนแปลงสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลและกลายเป็นรากลึกในทุก ด้านของชีวิต ทั้งอาชีพ การทำงาน ชีวิตส่วนตัว รวมไปถึงมีผลต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมของประเทศต่างๆในหลายประเทศทั่วโลก การพัฒนาสมรรถนะด้านไอทีของประชากรจึงเป็นหัวใจหลักในการปรับตัวสู่เศรษฐกิจ ดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

 

2. หลักการและเหตุผล

               ประเทศไทยมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของประชากรและภาคธุรกิจเพิ่มสูงขึ้นตาม กระแสโลก โดยเฉพาะการใช้งานคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนถึงการใช้งานอินเตอร์เน็ตอันเป็นหัวใจสำคัญ รัฐบาลไทยจึงได้วางนโยบายปฏิรูปประเทศสู่ดิจิทัลไทยแลนด์  (Digital Thailand) อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล พ.ศ.2559-2563 โดยหนึ่งใน 6 ยุทธศาสตร์ คือ การพัฒนากำลังคนดิจิทัล (Digital Workforce) เพื่อพร้อมรับเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

               ภาพรวมด้านการใช้งานด้านดิจิทัลของประชากรไทยพบว่า อัตราส่วนระหว่างผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตกับประชากรของประเทศไทยอยู่ที่ 56% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยจากทั่วโลก โดยประเทศไทยมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่า 38 ล้านคน และจำนวนดังกล่าวนี้ใช้งานโซเชียลมีเดียทั้งหมด โดยมีผู้ใช้โทรศัพย์มือถือ จำนวน 47 ล้านคน คิดเป็น 69% ของประชากรทั้งประเทศ มีหมายเลขโทรศัพท์ที่จดทะเบียนทั้งหมด จำนวน 82.8 ล้านหมายเลข คิดเป็น 122% ของประชากรทั้งหมด

               จากข้อมูลการสัมมนาภายในงาน Thailand Social Awards 2016 พบว่าคนไทยใช้เฟสบุ๊ค จำนวน 41 ล้านคน เพิ่มขึ้น 17% คิดเป็น 60% ของประชากรไทย และมีเฟสบุ๊คเพจ จำนวน 7 แสนเพจ นอกจากนั้นคนไทยยังใช้ Line จำนวน 30 ล้านคน อินสตาแกรม 7.8 ล้านคน เพิ่มขึ้น 74% ทวิตเตอร์ 5.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 18% ซึ่งจากข้อมูลทั้งหมดพบว่าประชากรไทยมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล สูงและกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิต

               สำหรับด้านธุรกิจ ความรู้ความสามารถด้านดิจิทัลมีความสำคัญเพิ่มสูงขึ้น จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ.2558 พบว่ามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานประกอบการ สัดส่วนของสถานประกอบการที่มีพนักงานจำนวนมากว่า 51 คน มีการใช้คอมพิวเตอร์ จำนวน 96.3% และสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีพนักงานจำนวนมากกว่า 200 คน มีการใช้คอมพิวเตอร์ถึง99.6%

               ถึงแม้ตัวเลขการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของประชากรไทยจะสูงขึ้น แต่ความท้าทายของประเทศไทย คือ ศักยภาพทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากรทั้งภาครัฐ เอกชน รวมไปถึงประชาชนทั่วไป จากการสำรวจในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าผู้สมัครงานจำนวน 49% เข้าใจว่าตนเองมีทักษะความรู้ที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการ ทำงาน "ดีมาก" และจำนวน 29% กล่าวว่าตนเองมีทักษะความรู้อยู่ในระดับ "ดี" แต่หลังจากนำเอากลุ่มคนตัวอย่างเข้าทดสอบทักษะความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ที่ เกี่ยวข้องกับการทำงาน พบว่ามีเพียงจำนวน 25% เท่านั้น ที่มีทักษะความรู้ดิจิทัลในระดับดีและดีมาก สามารถสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากล หรือประกาศนียบัตรรับรองความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ระดับมาตรฐานสากล ICDL (International Computer Driving License) ซึ่งจากผลการสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่าบุคลากรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และทักษะดิ จิทัลในการใช้งานจริงเป็นจำนวนมาก

              ในปัจจุบัน Digital Literacy ของประชากรไทยอยู่ที่ระดับ 11% ในขณะที่ประชากรของประเทศสิงคโปร์ที่เป็นผู้นำด้านไอทีของภูมิภาคมี Digital Literacy อยู่ที่ระดับ 80% และประเทศมาเลเซียอยู่ที่ระดับ 40%

               การปรับโครงสร้างพื้นฐานเข้าสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศไทยใน ระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ.2559-2561) เพื่อยกระดับภาคเศรษฐกิจของประเทศและมุ่งปฏิรูปประเทศไปสู่การเป็นดิจิทัล ไทยแลนด์ (Digital Thailand) จึงต้องมุ่งเน้นด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นประเด็นสำคัญที่สุด เพราะเมื่อวิทยาการทางเทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและมีการเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา ส่งผลให้เกิดความท้าทายต่อคนทำงาน หรือ Workforce ที่ต้องรับมือตามศักยภาพของเทคโนโลยีให้เท่าทัน การยกระดับพื้นฐานความรู้ความสามารถด้านดิจิทัลจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดและ เป็นพลังมหาศาลในการขับเคลื่อนประเทศสู่การแข่งขันระดับนานาชาติได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

               สำหรับประเทศไทย สิ่งที่สำคัญที่สุดในเวลานี้ คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านดิจิทัลอย่างถูกต้องและมีศักยภาพในการใช้ ประโยชน์เพื่อการทำงานอย่างแท้จริง ไม่ใช่ใช้เพื่อการสื่อสารและโซเชียลมีเดียเพียงมิติเดียว จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป

               มูลนิธิประเทศสีเขียวจึงได้จัดทำโครงการวุฒิบัตรรับรองทักษะความรู้ดิจิทัล ระดับมาตรฐานสากล (International Digital Literacy Standard) หรือ IDLS เพื่อนำโปรแกรม ICDL มาสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพแรงงานตามยุทธศาสตร์พัฒนาทุนมนุษย์ ตามนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล เพื่อร่วมนำประเทศไทยก้าวไปสู่ Digital Thailand และThailand 4.0 ในรูปแบบการพัฒนายกระดับและระบบการสอบรับรองทักษะดิจิทัลที่มีมาตรฐานระดับ โลก โดยไม่จำกัดทักษะความรู้เพียงซอฟต์แวร์เดียว สามารถเลือกทดสอบทักษะการใช้ซอฟต์แวร์ใดๆก็ได้ เพราะโปรแกรม ICDL มุ่งหวังให้เกิดการใช้งานทักษะทางคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง และใช้งานได้จริงในการทำงานทุกระดับ ตั้งแต่ระดับเบื้องต้นไปจนถึงระดับเชี่ยวชาญ

               เป้าหมายของการพัฒนากำลังคนดิจิทัล (Digital Workforce) ต้องมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์วัยทำงานให้มีความสามารถในการ สร้างสรรค์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพ รวมถึงการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในบุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน ในทุกสาขาอาชีพ ให้มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญระดับมาตรฐานสากล เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศในยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีดิจิ ทัลเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อน

               นอกจากการอบรมให้ความรู้เพิ่มทักษะด้านไอทีแล้ว ในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงสหประชาชาติและยูเนสโก ยังมีการสอบวัดมาตรฐานความรู้ความสามารถด้านไอทีโดยใช้วุฒิบัตรรับรองความ สามารถด้านคอมพิวเตอร์ระดับมาตรฐานสากล หรือ ICDL เป็นเกณฑ์สากล ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ด้านไอทีให้สูงขึ้นและเป็นแรงผลักดันให้ ทรัพยากรมนุษย์ถูกพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เป็นเกณฑ์สำหรับคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณภาพสำหรับยุคดิจิทัล ในขณะเดียวกันก็เป็นเสมือนอีกใบเบิกทางสู่โอกาสงานและโอกาสความก้าวหน้าและ รายได้ที่ดีกว่าสำหรับนักศึกษาจบใหม่และผู้ที่กำลังมองหาโอกาสงานใหม่ๆ


3. วัตถุประสงค์

               3.1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีคุณภาพและมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งจะมีส่วนส่งเสริมให้ประเทศไทยมีบทบาทในภูมิภาคอาเซียนในการเป็นศูนย์ กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

               3.2 เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สอดรับนโยบายปฏิรูปประเทศไทย "Digital Thailand" และ "Thailand 4.0" ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล พ.ศ.2559-2563 และรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

               3.3 เพื่อเตรียมกำลังคนสำหรับเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Workforce)
               3.4 เพื่อสนับสนุนและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากรอบมาตรฐานทักษะ คอมพิวเตอร์ของประเทศไทย
               3.5 เพื่อสนับสนุนและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนางานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
               3.6 เพื่อส่งเสริมการขายและการส่งมอบโปรแกรมที่รับรองคุณภาพทั่วโลก

4. เป้าหมาย
               4.1 พัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับบุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน ในทุกสาขาอาชีพ ให้มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญระดับมาตรฐานสากล
               4.2 สร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์วัยทำงาน นักศึกษา และนักศึกษาจบใหม่ให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง มีประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพ
               4.3 สร้างและส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับนัก เรียนในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา เพื่อรองรับและพัฒนาไปสู่การเรียนในระดับอุดมศึกษา

               4.4 สร้างและส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับเกษตรกร ทั่วประเทศ เพื่อรองรับและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งเป็นกำลังสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยเป็น"ครัวโลก"ได้อย่างรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพ

5. พื้นที่ดำเนินงาน
               ดำเนินงานโครงการ IDLS ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยเริ่มดำเนินการที่กรุงเทพฯและจังหวัดต่างๆที่เป็นศูนย์กลางของในแต่ละ ภูมิภาคนั้นๆ แล้วค่อยกระจายไปยังจังหวัดใกล้เคียง

6. จุดเด่น
               โครงการ IDLS มีเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรต่างๆทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ


7.  แนวทางการดำเนินงาน
               7.1 วางกรอบแผนการดำเนินงาน ประสานผู้ร่วมดำเนินงานตามกลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่ทำกิจกรรม
               7.2 ประสานและประชุมหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยกระทรวง ทบวง กรม สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย องค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชน บริษัท ห้างร้าน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำเกษตรกร รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป
               7.3 ประสาน ติดต่อกลุ่มเป้าหมาย หรือหน่วยงาน องค์กร สถาบันการศึกษา และมหาวิทยาลัย เพื่อจัดเตรียมความพร้อมหรือเพิ่มคณะทำงาน ผู้เชี่ยวชาญ และครูผู้สอน รองรับปริมาณหรือจำนวนที่เพิ่มขึ้นของผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ IDLS
               7.4 จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ IDLS ระหว่างมูลนิธิประเทศสีเขียว กับ สถาบันการศึกษา หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นเครือข่ายศูนย์อบรมและสอบ ICDL
               7.5 ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการ IDLS ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาที่เป็นศูนย์เครือข่ายอบรมและสอบ ICDL รวมทั้งภาคส่วนต่างๆที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
               7.6 ดำเนินการจัดอบรมและสอบครูผู้สอน เพื่อให้ได้รับวุฒิบัตร ICDL ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่เข้าร่วมโครงการ IDLS
               7.7 ดำเนินการจัดอบรมและสอบผู้เข้าร่วมโครงการ IDLS ตามภูมิภาคต่างๆที่มีศูนย์เครือข่ายอบรมและสอบ ICDL ของมูลนิธิประเทศสีเขียว
               7.8 จัดส่งผู้เชี่ยวชาญจาก ICDL หรือจากส่วนกลาง ลงพื้นที่ในทุกภูมิภาคที่มีศูนย์เครือข่ายการจัดอบรมและสอบ ICDL เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำครูผู้สอน
               7.9 การสรุปและประเมินผลการดำเนินงาน


8. ระยะเวลาดำเนินงาน
               เริ่มดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2563

9. วิธีการดำเนินงาน

               ตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ IDLS ซึ่งคัดเลือกมาจากสถาบันการศึกษา หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นศูนย์เครือข่ายอบรมและสอบ ICDL ของมูลนิธิประเทศสีเขียวในทุกภูมิภาค เพื่อดำเนินการจัดอบรมและสอบ ICDL รวมทั้งการจัดตั้งทีมงานจากส่วนกลางและในพื้นที่เพื่อดำเนินงาน หรือจัดกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทางการดำเนินงานและวัตถุประสงค์ของโครงการ IDLS


10. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
               มูลนิธิประเทศสีเขียว เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโครงการ IDLS ร่วมกับสถาบันการศึกษา หรือมหาวิทยาลัยต่างๆที่เป็นศูนย์เครือข่ายอบรมและสอบ ICDL ของมูลนิธิประเทศสีเขียว

11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

               11.1 ประเทศไทยมีบุคลากรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีคุณภาพและมาตรฐานสากลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

               11.2 ประเทศไทยมีความพร้อมของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บรรลุตามเจตนารมณ์ของนโยบายปฏิรูปประเทศไทย "Digital Thailand" และ "Thailand 4.0" ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล พ.ศ.2559 - 2563 และพร้อมสำหรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

               11.3 ประเทศไทยมีกำลังคนพร้อมสำหรับเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Workforce)
               11.4 ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสนับสนุนและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนากรอบมาตรฐานทักษะคอมพิวเตอร์ในภูมิภาคอาเซียน
               11.5 ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสนับสนุนและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยและ พัฒนางานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาคอาเซียน
               11.6 ประเทศไทยมีผู้ที่ผ่านการอบรมและสอบ ICDL เพื่อรับประกาศนียบัตรรับรองความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ระดับมาตรฐานสากล มากกว่า 5,000,000 คน ภายในปี พ.ศ.2563

12. วิธีการเข้าร่วม
               12.1 ติดต่อ ประสานงานเพื่อเข้าร่วมเป็นเครือข่ายศูนย์อบรมและสอบ ICDL ในโครงการ IDLS ของมูลนิธิประเทศสีเขียว ในกรณีที่เป็นสถาบันการศึกษา หรือมหาวิทยาลัย
               12.2 สมัครอบรมและสอบ ICDL ผ่านเครือข่ายศูนย์อบรมและสอบของมูลนิธิประเทศสีเขียว ในจังหวัดต่างๆของแต่ละภูมิภาค

13. วิธีการสนับสนุนงบประมาณ
               13.1 ติดต่อ ประสานงานงานขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อการรณรงค์และส่งเสริมการอบรมและสอบ ICDL มายังมูลนิธิประเทศสีเขียว ในกรณีที่เป็นหน่วยงาน หรือองค์กรภาคเอกชน
               13.2ให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดอบรมและสอบ ICDL ของมูลนิธิประเทศสีเขียว ในกรณีที่เป็นหน่วยงาน หรือองค์กรภาครัฐ
               13.3 โอนเงินสนับสนุนเข้าบัญชีธนาคารหรือสนับสนุนเป็นเช็คในนาม "โครงการ ไอดีแอลเอส" หรือ "IDLS Project"


14. การประชาสัมพันธ์
            14.1 ประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายศูนย์อบรมและสอบ ICDL ของมูลนิธิประเทศสีเขียว ประจำจังหวัดต่างๆในแต่ละภูมิภาค
            14.2 ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ และสื่ออิเล็คทรอนิกส์
            14.3 ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook YouTube และเว็บไซต์www.greencountryfoundation.org


15. งบประมาณดำเนินงานและจัดทำกิจกรรม         

 

โครงการ IDLS

โครงการ IDLS

โครงการ IDLS

16.คณะกรรมการ
              คณะกรรมการที่ปรึกษา
              คณะกรรมการดำเนินงาน

thaibangkokhost.com